วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประวัติประเทศกัมพูชา


ประเทศกัมพูชา

ยุคก่อนตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก(ยุคโบราณ) ชื่อในอดีตมีชื่อที่รู้จักกันในอดีต คือ ชื่อ ขอม เขมร อาณาจักรเจนละ ถือเป็นอาณาจักแรกของเขมร ซึ่งได้รวบรวมและสร้างอย่างเป็นบึกแผ่นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 1
ยุคที่ราชธานี เมืองหลวงอยู่ที่ นครวัด กษัตริย์องค์สำคัญคือ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 มีการสร้างปราสาทหินนครวัด (Angkor Wat) ในพุทธศตวรรษที่ 17 ช่วงนี้รับวัฒนธรรมของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (ในช่วงแรกนั้น นครวัดได้ถูกสร้างเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย แต่ต่อมาในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้เปลี่ยนให้เป็นวัดในศาสนาพุทธนิกายมหายาน) นครวัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ชิ้นหนึ่งของโลก ซึ่งต่อในช่วงต่อมาก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพวกจาม(อาณาจักรในเวียดนาม)

ยุคที่ราชธานี เมืองหลวง อยู่ที่นครธม กษัตริย์องค์สำคัญที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งได้รวบรวมอาณาจักรได้อีกครั้งแล้วไปสร้างราชธานีใหม่ที่นครธม (Angkor Thom) มีการสร้างปราสาทบายนที่นครธม (เป็นศาสนาสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน) มีรูปพระพักตร์ พระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร ภายในมีภาพชาวเขมร และภาพการต่อสู้กับพวกจาม ในตอนหลังก็อ่อนแอ่ลงทำให้รัฐทางเหนือ (คือสุโขทัย) ก่อตัวเข้มแข็งและตั้งรัฐเป็นอิสระได้ในเวลาต่อมา

ยุคที่ราชธานี เมืองหลวง ย้ายมาอยู่ที่กรุงพนมเปญ(เมืองหลวงของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน) หลังจากที่การเสื่อมของนครธม ได้มีการย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงพนมเปญ(ปล่อยให้นครวัด และ นครธมร้างไป)

ในช่วงนี้เป็นสมัยที่เขมรผลัดกันตกเป็นเมืองขึ้นของทั้ง ไทย และเวียดนาม ในช่วง (รัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 4 ) เขมรตกเป็นเมืองขึ้นของไทย ในสมัยรัชกาลที่ 4 (เขมรส่วนนอก/พื้นที่ตอนนอก ตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส) ในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 (เขมรส่วนใน/พื้นที่ตอนใน ตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส) สุดท้ายเขมรทั้งประเทศก็ตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส

ยุคที่อยู่ใต้การปกครองของชาติตะวันตก (เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส) พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) กัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองกัมพูชาไว้ แล้วปลดผู้ปกครองกัมพูชาที่เป็นชาวฝรั่งเศสและผู้นิยมฝรั่งเศสออกไป

เมื่อสงครามโลกครั่งที่ 2 ยุติลง (ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกครั้งที่ 2) กัมพูชาจึงต้องตกเป็นของฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาฝรั่งเศสมีภาระการต่อสู่ติดพันกับนักชาตินิยมในเวียดนาม จึงต้องหาทางประนีประนอมกับกัมพูชา โดยได้จัดทำสนธิสัญญาขึ้นเพื่อเปลี่ยนสภาพจากการที่กัมพูชาเป็นเมืองขึ้นมาเป็นรัฐในอารักขาแห่งเครือจักรภพของฝรั่งเศส ในระยะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสได้เจ้าสีหนุเป็นกษัตริย์ปกครองกัมพูชา เมื่อญี่ปุ่นยึดกัมพูชาได้ จึงให้เจ้าสีหนุประกาศเอกราชเป็นอิสระจากฝรั่งเศส แต่เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสจึงกลับเข้ามามีอำนาจในกัมพูชาเหมือนเดิม

ยุคหลังจากได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส 
ขบวนการชาตินิยม ไม่ได้เกิดในการต่อต้านฝรั่งเศส แต่ต่อต้านญี่ปุ่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เข้ามายึดครองกัมพูชา เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ ฝรั่งเศสจะพยายามเข้ามายึดครองอีก เจ้านโรดม สีหนุกษัตริย์กัมพูชา พยายามขอเอกราชจากฝรั่งเศสหลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ จนกระทั้งฝรั่งเศสแพ้เวียดมินท์ ในการทำสงครามที่เบียนเดียนฟู จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ เวียดนาม ได้เอกราช จากอนิสงฆ์การชนะสงครามในครั้งนี้ทำให้ ลาวและ กัมพูชาพลอยได้เอกราชไปด้วย

ในปี พ.ศ. 2490 ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูนและจัดให้มีการเลือกตั้ง โดยเจ้าสีหนุประกาศยุบสภา ประกาศใช้กฎอัยการศึกและทำการปกครองกัมพูชาโดยตรงและได้เรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั่นที่ฝรั่งเศสกำลังเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสงครามกับเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ฝรั่งเศสจึงยอมให้เอกราชแก่กัมพูชาตามคำเรียกร้องของเจ้าสีหนุ

ปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954)กัมพูชา จึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาเจนีวาพร้อม ๆ กับลาว และเวียดนาม หลังได้รับเอกราช ก็มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดย เจ้านโรดม สีหนุ เป็นประมุข

พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) นายพล ลอนนอล จะทำการปฏิวัติเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบประชาธิปไตยแบบมีประธานาธิบดีเป็นประมุข(ไม่เอากษัตริย์) แล้วก่อตั้งเป็น “สาธารณรัฐกัมพูชา”

พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) เป็นช่วงที่ถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์ยึดอำนาจ ซึ่งเรียกตัวเองว่า กลุ่มเขมรแดง นำโดย พอลพต และ เขียว สัมพัน เป็นช่วงที่ประชาชนมีความเดือดร้อนมาก มีการทำร้ายประชาชน และ มีการสู้รบตลอดเวลา ในช่วงนี้มีชาวเขมรตายไปจำนวนมาก กว่าล้านคน ตำนาน”ทุ่งสังหาร” (ค.ศ. 1975-1979) *

ช่วงที่เวียดนามเข้ามามีบทบาทในกัมพูชา (ค.ศ. 1979-1989) 
ต่อมามีปัญหาทะเละเรื่องพรมแดนกับประเทศเวียดนาม ทำให้เวียดนามส่งกองทัพบุกกัมพูชา พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) เวียดนามส่งกำลังเข้าช่วยเพื่อการปลดปล่อยประชาชาติ (The National United Front for National Salvation) ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเฮง สัมริน เพื่อต่อต้านรัฐบาลเขมรแดง (เวียดนามคอยหนุนหลังให้กับเฮง สำรินมาโดยตลอด) ** เวียดนามเข้ามาแทรกแซงในกัมพูชา

พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) มีการจัดตั้งรัฐบาล เฮงสัมริน ซึ่งเป็นหุ่นเชิดให้กับทางเวียดนาม ทำให้พอลพต ต้องลงจากอำนาจและกลุ่มเขมรแดงก็ถ่อย เขมรแดงต้องถอยรนและกระจัดกระจาย พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - เกิดรัฐบาลร่วมสามฝ่ายเพื่อต่อต้านเฮง สัมริน ช่วงที่รัฐบาลเฮง สัมรินมีอำนาจนี้ ทำให้ชาวเวียดนามอพยพมาอยู่ในกัมพูชามากขึ้น จนเกิดกลุ่มต่อต้านเวียดนาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1) กลุ่มเขมรเสรี ซึ่งมีนายซอนซาน เป็นผู้นำ
2) กลุ่มที่สนับสนุนและยังจงรักภักดีกับเจ้านโรดม สีหนุ หรือกลุ่มมูลินากา (Moulinaka)

ทั้ง 2 กลุ่มนี้ได้ร่วม ได้ร่วมมือกับ กลุ่มเขมรแดง (ของพอลพต) ต่อสู้กับเวียดนาม ได้ เกิดการจัดตั้งรัฐบาลผสมเรียกว่า “รัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย” ประกอบด้วย

1) กลุ่มมูลินากา (Moulinaka) หรือกลุ่มเจ้าสีหนุ เป็นประธานาธิบดี (จากกลุ่มเจ้าสีหนุ)
2) กลุ่มซอนซาน เป็นนายกรัฐมนตรี (จากกลุ่มเขมรเสรี)
3) เขียว สัมพัน เป็นรองนายกรัฐมนตรี (จากกลุ่มเขมรแดง)

ส่วนรัฐบาลที่เมืองหลวง(กรุงพนมเปญ) ในขณะนั้น เรียกว่า “รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา” เป็นรัฐบาลเฮงสัมริน มีนายยกรัฐมนตรี นายฮุน เซ็น เป็นนายกรัฐมนตรี

รัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย กับ รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา
( กลุ่มเจ้าสีหนุ+ เขมรเสรี + เขมรแดง) กับ (เฮง สัมริน (เวียดนามหนุนอยู่) 

ทั้งไทย และจีน สนับสนุนรัฐบาลของ 3 ฝ่าย เพราะกลัวว่า เวียดนามจะมามีอำนาจในกัมพูชามากเกินไป รัฐบาลของ 3ฝ่าย (รัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย) นี้ ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติ (UN) และสนับสนุนให้เวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชา โดยฝ่ายเจ้านโรดม สีหนุ ก็ใช้วิธีการทางการทูตในการขอการสนับสนุนจากนานชาติในการกดดันให้เวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชา รวมทั้งใช้กำลังทหารเข้าขับไล่

พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) นายเฮง สัมริน ตาย อำนาจตกไปยู่ที่ไปที่นายฮุนเซน (สมเด็จฮุน เซ็น) พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) เวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชา

ช่วงที่ เกิดเขมร 4 ฝ่าย ในกัมพูชา 
พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) ช่วงนี้เราเรียกว่าเป็นช่วงที่เกิดกลุ่มเขมร 4 ฝ่าย ซึ่งมี การประชุม โดยการควบคุมของ (UNTAC : United Nations Transitional Authority in Cambodia) แต่ก็ความขัดแย้งกันเอง ประกอบด้วย
1. เขมรแดงโดย นายเขียว สัมพัน
2. เขมรเสรีโดย นายซอนซาน
3. เขมรเฮง สัมริน (รัฐบาลพนมเปญ) โดย นายฮุน เซน
4. กลุ่มเจ้าสีหนุ โดย เจ้ารณฤทธิ์

ร่วมประชุมกันเพื่อหาแนวทางสันติภาพของทุกฝ่าย(ประชุมกันหลายครั้งมาก)
- จัดตั้งสภาสูงสุดแห่งชาติกัมพูชา (Supreme National Council : SNC)
- จัดตั้งการเลือกตั้งเพื่อรัฐบาลชุดใหม่
- ให้ทุกฝ่ายปลดอาวุธ

ผลของการประชุมเพื่อหาแนวทางสันติภาพปรากฏว่า :
- ฝ่ายของนาย ฮุนเซนไม่พอใจ เพราะไม่ต้องการกลุ่มเขมรแดงแต่อยากจะกำจัด และไม่ต้องการให้เลือกตั้งมาเป็นรัฐบาล
- ฝ่ายนาย เขียว สัมพัน แกนนำกลุ่มเขมรแดงไม่ยอมรับสันธิสัญญา เพราะ
-ไม่อยากปลดอาวุธ (เพราะยังมีทหารเวียดนามอยู่มาก )
-ไม่เชื่อใจ UNTACเพราะสหรัฐไม่ชอบกลุ่มเขมรแดง
- กองกำลังเขมรแดงเข้มแข็งมากที่สุด แต่มีพื้นที่ที่ยึดครองน้อย หากไม่มีอาวุธก็เท่ากับหมดตัว(เสียเปรียบ)
- ไม่ยอมรับการเลือกตั้งแน่นอน (เพราะฝ่ายตนเป็นรองอยู่มาก แต่อ้างว่าการเมืองกัมพูชาไม่เสรีจริง ไม่ยุติธรรม )
- อำนาจส่วนใหญ่ยังอยู่ที่รัฐบาลฮุนเซน ไม่ใช่ UNTAC

ผลสุดท้ายฝ่าย เขมรแดงไม่ยอมลงเลือกตั้งตามสันธิสัญญา เท่ากับเป็นการไม่ยอมรับการร่วมสร้างความเป็นหนึ่งในเขมร (ตั้งแต่นั้นมาคือเขมรแดงกลายเป็นพวกนอกกฎหมาย(หลังการเลือกตั้งเสร็จ)

พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) มีการเลือกตั้งเพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้น

1. พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP : Cambodian people’s party) นำโดยนายฮุนเซน
2. พรรคฟุนซินเปค(FUNCINPEC) นำโดยเจ้ารณฤทธิ์
3. พรรคพุทธเสรีประชาธิปไตย นำโดย ซอนซาน ผู้นำเขมรเสรี
4. พรรคเอกภาพแห่งกัมพูชา นำโดยเขียว สัมพัน ผู้นำเขมรแดง (ไม่ได้ลงเลือกตั้ง)

พ.ศ. 2536 (ค.ศ.1993) มีการเลือกตั้งทั่วไปภายในประเทศโดยการควบคลุมของสหประชาชาติ (UN) แต่ฝ่ายเขมรแดงไม่เข้าร่วม นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้กัมพูชามีกษัตริย์เป็นประมุข เจ้านโรดมสีหนุ จึงได้เป็นประมุข(ก็คือกษัตริย์)

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคฟุนซินเปค(FUNCINPEC) ของเจ้านโรดม รณฤทธิ์ชนะการเลือกตั้ง ทำให้นายฮุนเซนไม่พอใจเป็นอย่างมากที่ และคิดจะแบ่งแยกดินแดน ภายหลังเจ้าสีหนุประนีประนอมให้มีนายกรัฐมนตรี 2 คนได้ คือให้ เจ้ารณฤทธิ์เป็นนายกคนที่1 ส่วนนายฮุนเซนเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 มีอำนาจมากกว่าตามฐานคะแนนเสียง

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่ากัมพูชานายกรัฐมนตรีพร้อมกัน 2 คน (เป็นประเทศแรกของโลกนะ แปลก มากๆๆ) ไม่นานก็เกิดความไม่ยอมอันเนื่องเพราะอย่างเป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียว จึงสู้รบกัน สุดท้ายนายกรัฐมนตรี 2 คน ก็หมดวาระลง ส่วนกลุ่มเขมรแดงก็เลยเป็นกลุ่มนอกกฎหมายที่สูญเสียอิทธิพลไปในที่สุด

ในปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) และในครั้งนี้ได้มีการกำหนดให้มีรัฐมนตรีได้คนเดียว ได้มีการเลือกตั้งอีกรอบผลปรากฏว่า นาย ฮุน เซ็น ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียว และครองอำนาจทางการเมืองมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วน เจ้านโรดม รณฤทธิ์ หัวหน้าพรรคฟุนซินเปคก็ลดบทบาททางการเมืองลงจนสุดท้ายก็ถูกสมาชิกพรรคถอดถอนออกจากตำแหน่ง ต่อมาเจ้านโรดม สีหนุ ก็สละราชบัลลังก์ ให้ สมเด็จกรมพระนโรดม สีหมุนี ขึ้นครองราชแทนเป็นกษัตริย์องค์ปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น